ข่าว:

คำขวัญอำเภอประจักษ์ศิลปาคม: พระนามกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ชื่นชมผ้าหมี่สีย้อมคราม เลื่องลือนาม
หลวงปู่ก่ำ ชุ่มฉ่ำห้วยน้ำออกตลอดปี
ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่

Main Menu

Recent

ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า อุดรธานี

เริ่มโดย Udon Talk, 26 พฤศจิกายน 2023 เวลา 20:24 น.

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป
Topic keywords [SEO] อุดรธานีอุดรส่วนป่าขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าขึ้นทะเบียนสวนป่า

Udon Talk

การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต

หลักเกณฑ์
การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า เพื่อรับความคุ้มครองสิทธิ์ในการทำไม้หวงห้ามที่ปลูก เช่น การได้รับยกเว้นค่าภาคหลวงและการไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎเกณฑ์บางประการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ผู้ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าสามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ได้ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า และการโอนทะเบียนสวนป่า ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 16 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535

ทั้งนี้ ชนิดไม้ที่ปลูกจะต้องเป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484และผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือผู้มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทหนึ่งประเภทใด ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (น.ส.4, น.ส.3)
(2) ที่ดินที่มีหนังสือแสดงการทำประโยชน์ น.ค.3 หรือ กสน.5
(3) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่มีหลักฐานการอนุญาต การเช่าหรือเช่าซื้อ (ส.ป.ก.4-01)
(4) ที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติให้บุคคลเข้าไปทำการปลูกป่าในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือไม้ยืนต้นในเขต ป่าเสื่อมโทรม (สทก.1 ข, ป.ส.31)
(5) ที่ดินที่ได้ดำเนินการเพื่อการปลูกป่าอยู่แล้วโดยทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

วิธีการ
1. ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตามแบบ สป.1 พร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ สป.1 ดังต่อไปนี้
    (1) สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่ากรมป่าไม้ เพื่อเสนอต่อนายทะเบียน
    (2) สำหรับท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อนายอำเภอท้องที่ที่สวนป่าตั้งอยู่ เพื่อเสนอต่อนายทะเบียน
2. พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอนายทะเบียนเพื่อสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้ง และสภาพที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า พร้อมนัดหมายผู้ยื่นคำขอ เพื่อกำหนดวัน เวลา ที่จะออกไปตรวจสอบ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นให้นายทะเบียนพิจารณาสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า
3. นายทะเบียนพิจารณาและแจ้งการสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

เงื่อนไข
1. การแจ้งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ให้ทำเป็นหนังสือและจัดส่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับทราบต่อท้ายสำเนาคู่ฉบับหนังสือนั้น และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งคำสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าไว้ในทะเบียน
2. ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ให้ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
3. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็น "ผู้ทำสวนป่า"
1.มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
2.ผู้มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดิน(ทำหนังสือขออนุญาติใช้ประโยชน์ในที่ดิน)
3.กรณีเช่าที่ดิน ต้องมีสัญญาเช่าพร้อมหนังสือยินยอมผู้ให้เช่า

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
1.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน โดยเมื่อยื่นแล้วผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการไปก่อนได้
2.ชนิดไม้ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าได้ตามกฎหมาย คือ "เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ " ซึ่งถ้าไม่ใช่ก็ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน ได้แก่
          ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
          ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวน ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้รับอนุญาตในกรณีพิเศษ
          * ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก.
          * ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม
 
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของที่ดินด้วย
          -ที่ดินโฉนด ไม้หวงห้ามคือไม้สักและไม้ยางเท่านั้น
          -ที่ดินประเภทอื่นที่อยู่ภายใต้ประราชบัญญัติป่าไม้ ไม้หวงห้ามคือ ไม้สักและไม้ยาง รวมถึงไม้อีก 171 ชนิด ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530
สรุปได้ว่าที่ดินที่มีโฉนดถ้าไม่ได้ปลูกไม้สักและไม้ยางนาก็ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนก็ได้ แต่ถ้าเป็นที่ประเภทอื่น ต้องพิจารณารายชื่อไม้อีก 171 ชนิด ว่าไม้ที่ปลูกอยู่ในรายชื่อนั้นหรือเปล่า

เอกสารและหลักฐานประกอบการขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า
1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.1)
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาบัตรประชาชน
4.กรณีเป็นผู้ขออนุญาติใข้ประโยชน์ในที่ดินต้องมีหนังสือยินยอมทำประโยชน์
5.สำเนาหลักฐานที่ดิน เพื่อแสดงว่า ที่ดินดังกล่าวผู้ยื่นคำขอ เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
6.แผนที่สังเขป แสดงที่ตั้ง เขตติดต่อและแนวเขตที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า

ขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและการออกหนังสือรับรอง
1.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสวนป่า
2.รอเจ้าหน้าที่พนังงานดำเนินเรื่องการขึ้นทะเบียน
3.พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินและเสนอผลการตรวจสอบ
4.นายทะเบียนแจ้งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนสวนป่าและออกหนังสือรับรอง

ที่มา: https://udonthani.mnre.go.th/th/news/detail/19845

ส่วนป่า.jpeg